วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชื่อหน่วยงานและรายละเอียดหน่วยงาน





วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการขยายโอกาสทางการศึกษาด้านวิชาชีพสู่ท้องถิ่นสนับสนุนการพัฒนาชนบท รวมทั้งการผลิตกำลังคนในรับดับช่างกึ่งฝีมือและช่างฝีมือ และช่างเทคนิคที่มีคุณภาพ ในรูปแบบที่ประหยัด เพื่อให้ประชาชนที่ยากจนในชนบท มีโอกาสได้เข้าศึกษาต่อ ทั้งในระบบและนอกระบบ คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตรระยะสั้นทุกประเภท ตามความต้องการของท้องถิ่น และหลักสูตรเทียบความรู้และประสบการณ์สู่หน่วยกิต
          วันที่ 30 พฤษภาคา 2538 นายกำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 กรมอาชีวศึกษามีคำสั่งแต่งตั้ง นายอาทิตย์ วิบูลชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพท่าตูม ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ มีบทบาทหน้าที่ในการประสานงาน หน่วยงานราชการ ชุมชน บุคคลและอื่นๆ ในพื้นที่ เพื่อดำเนินการจัดกาที่ดิน ดำเนินการก่อสร้างเตรียมการจัดการเรียนการสอน ตั้งแต่เริ่มโครงการจนสามารถเปิดทำการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์
          วันที่ 18 เมษายน 2539 กระทรวงศึกษาธิการ โดยคณะกรรมการจัดประโยชน์ในราชพัสดุอนุมัติให้กรมอาชีวศึกษาใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวน 50 ไร่ เพื่อใช้เป็นที่ก่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ ต่อมากรมธนารักษ์ได้พิจารณาอานุญาตและออกโฉนดให้กรมอาชีวศึกษาใช้ที่ดินก่อสร้างวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ จำนวน 25 ไร่ โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2539 แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ในการก่อสร้างใช้งบประมาณผูกพัน 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2539 - 2550 เป็นเงิน 51,127,386.05 บาท ได้อาคารต่างๆ ดังนี้
          1.) อาคารเรียนและปฏิบัติการ พื้นที่ 1,920 ตารางเมตร 1 หลัง
          2.) อาคารหอประชุมและสำนักงาน พื้นที่ 960 ตารางเมตร 1 หลัง
          3.) อาคารโรงฝึกงาน พื้นที่ 480 ตารางเมตร 2 หลัง
          4.) บ้านพักผู้บริหารระดับ 7-8 1 หลัง
          5.) บ้านพักครู 6 หน่วย 2 หลัง
          6.) บ้านพักภารโรง 2 หน่วย 3 หลัง
          7.) ห้องน้ำ - ห้องส้วม 3 หน่วย 2 หลัง
          8.) อาคารโรงฝึกงานแบบจั่วคู่ 1 หลัง
          9.) โรงจอดรถ พื้นที่ 1,040 ตารางเมตร 1 หลัง
          10.) ป้อมยาม พิ้นที่ 9 ตารางเมตร 1 หลัง

ปรัชญา   :  วิชาการดี  มีฝีมือ  ถือคุณธรรม  นำกีฬา  พัฒนาสังคม

วิสัยทัศน์  :  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  มุ่งมั่นจัดการศึกษา เพื่อผลิตกำลังคนด้านวิชาชีพที่หลากหลาย  ให้ได้คุณภาพตามาตรฐานการอาชีวศึกษา สนองความต้องการของตลาดแรงงานและชุมชนด้วยเทคโนโลยี  โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการ

อัตลักษณ์ :  ทักษะเด่น  เน้นคุณธรรม

เอกลักษณ์  :  สถานศึกษาส่งเสริมคุณธรรม  จริยธรรม  ผู้นำด้านบริการวิชาชีพสู่สังคม

สีสัญลักษณ์วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ


น้ำเงิน  หมายถึง  ความพยายาม  ความพากเพียร  อดทน  และแสดงถึงความเข้มแข็ง สามัคคี  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เหลือง  หมายถึง  ความเป็นผู้มีปัญญา  มีวินัย  ความก้าวหน้าและความรุ่งโรจน์ในชีวิตและเป็นสีแห่งความสงบในร่มเงาแห่งพระพุทธศาสนา

ตราวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
         เสมาธรรมจักรอยู่ภายในกรอบวงกลมสองชั้นด้านบนมีข้อความว่า  สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ด้านล่างมีข้อความว่า  วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ  รอบเสมาธรรมจักร  จารึกอักษร  ทุ    นิ ม  สัจธรรมของพระพุทธเจ้า  คือ  อริยสัจ  
         ทุ    ทุกข์       ความไม่สบายกาย  สบายใจ
             สมุทัย     สาเหตุแห่งความทุกข์  อันเนื่องจากความดิ้นรนทะยานออก
         นิ    นิโรธ      ความดับทุกข์  ดับตัณหา  ดับความดิ้นรนทะยานออก
             มรรค      ทางปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการดับทุกข์  คือ  อริยมรรค   ได้แก่  ความเห็นชอบ  ความคิดชอบ   วาจาชอบ   กระทำชอบ   เลี้ยงชีพชอบ   พยายามชอบ  ระลึกชอบและตั้งจิตมั่นชอบ

ทำเนียบผู้บริหาร
          1.  นายอาทิตย์       วิบูลย์ชัย               ผู้อำนวยการ  ..2539มิถุนายน  พ.ศ.2551
          2.  นายจิระวัฒน์    ชวลิต                  ผู้อำนวยการ  มิถุนายน  พฤศจิกายน  พ.ศ.2551
          3.  นายอนันต์       หอมพิกุล                ผู้อำนวยการ พฤศจิกายน พ.ศ.2551 ธันวาคม พ.ศ.2552
          4.  นายวิชัย          ปรินายวนิชย์           ผู้อำนวยการ  ธันวาคม พ.ศ.2552 - ปัจจุบัน

ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
ปัจจุบันวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิได้เปิดทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรแบบเรียนปกติ  เต็มเวลาในสถานศึกษา  หลักสูตรแบบเรียนร่วมกับสถานประกอบการที่เรียกว่าระบบทวิภาคี และหลักสูตรเทียบโอนความรู้และประสบการณ์  ตามรายละเอียดดังนี้
1.   ประเภทวิชาอุตสาหกรรม
1.1    ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)    5  สาขางาน ได้แก่
-          สาขางานยานยนต์
-          สาขางานช่างไฟฟ้ากำลัง
-          สาขางานอิเล็กทรอนิกส์
-    สาขางานก่อสร้าง
-    สาขางานช่างกลโรงงาน
1.2    ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  3  สาขางาน ได้แก่
-          สาขางานเทคนิคยานยนต์
-          สาขางานติดตั้งไฟฟ้า
-          สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

2.       ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
2.1   ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)   2  สาขาวิชา ได้แก่
-          สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
-          สาขางานการบัญชี
2.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  2  สาขาวิชา ได้แก่
-          สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน
-     สาขางานการบัญชี

บทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน
บทบาทหน้าที่ของวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ

           หน้าที่หลัก

1.  จัดการเรียนการสอนต่อเนื่องในประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม  พณิชยกรรม  (เน้นการสนองความต้องการของท้องถิ่นและตลาดแรงงานเป็นสำคัญ)   เพื่อรับประกาศนียบัตร  ตามหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้
1.1  ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ชั้น ปวช.  หรือ ม.6
1.2  ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า
1.3    หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
1.4  หลักสูตรเทียบโอนประสบการณ์วิชาชีพ
1.5  หลักสูตรอื่น ๆ ตามที่กรมอาชีวศึกษามอบหมาย
2.  จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 75 150 ชั่วโมง หรือมากกว่านี้  สำหรับประชาชนทั่วไป หรืออยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา เพื่อสนองความต้องการของท้องถิ่นและตลาดแรงงาน ถึงการสร้างคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
3.  จัดการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้ผู้สำเร็จการฝึกอบรมจากสถาบันการศึกษา                  ผู้มีประสบการณ์ผู้ชำนาญงาน

หน้าที่อื่น

                   1.  ให้บริการวิชาชีพแก่ชุมชน และหน่วยงานในท้องถิ่น

2.  เป็นศูนย์กลางทางวิชาการแก่ชุมชนและท้องถิ่น
3.  ประสานงานกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน  เพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น